EP.16 ระบบการเทรด CCI ที่ทรงพลัง

✅ ทำไมคนทั่วไปใช้ CCI ใน Forex แล้วเจ๊ง !!!

✅ CCI คืออะไร .... ???

✅ CCI วิธีใช้งานแบบทรงพลังทำอย่างไร ???

✅ จบ Clip บทความนี้คุณจะได้กลยุทธ์ที่ทำกำไรได้จริงกลับบ้านแน่นอน 

 

ใครขี้เกียจอ่านกดชม Clip ด้านบน ได้เลยครับ ...

CCI คืออะไร ??? 

CCI ย่อมาจาก Commodity Channel Index เป็นอินดิเคเตอร์ที่ชี้วัดดัชนีราคา ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย คุณ Donald Lambert ซึ่งอินดิเคเตอร์ตัวนี้จัดอยู่ในประเภท Oscillator โดยสูตรการคำนวณนั้นอาศัย 2 เรื่อง เข้าด้วยกัน นั่นคือ เรื่องของ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทียบกับ การกระจายตัวของค่าเฉลี่ยราคาตามคาบเวลาที่เราเลือกไว้  

โดยปกติคนทั่วไปจะใช้ค่าที่ 20 และ ตั้ง level 100 , -100 เพื่อเป็น Zone การดู Overbought และ Oversold แล้วหาจังหวะการเข้าเทรดตามรอบการกลับตัวใน Zone ที่สังเกต 

ทำไมคนทั่วไปใช้ CCI ใน Forex แล้วเจ๊ง !!!

 

เท่าที่ผมศึกษาและมีประสบการณ์กับเทรดเดอร์มากมายนั้น ผมพบว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่ใช้ CCI จะเทรดตามข้อมูลที่เค้าเหล่านั้นได้จากหนังสือ บทความต่างๆ หรือ Clip สอนเทรดทั่วไป นั่นคือ เค้าจะตั้ง Level 100 , -100 เมื่อเข้า Zone 100 เทรดเดอร์จะมองว่าเป็น Zone ของ Overbought (ผู้ซื้อเริ่มเบาบาง แรงซื้อน้อยลง) ก็จะทำการ Sell สวนตลาดลงมา ส่วนเมื่อเข้า Zone -100 ก็จะทำตรงกันข้ามนั่นคือการเปิด Buy สวนขึ้นไป 


จากภาพจะเห็นว่าโดยรวมนั้นเป็นภาพตลาด "ขาลง" เมื่อดู CCI จะมีการเข้าไปใน Zone -100 (Oversold) มุดเข้า มุดออก อยู่ถึง 3-4 ครั้ง ดังนั้น เทรดเดอร์ที่เทรดตามตำราที่ได้ศึกษามา นั่นคือ เมื่อ CCI ต่ำกว่า -100 ให้ Buy สวน มาเรื่อยๆ ก็จะผู้แพ้อย่างยับเยินในรอบการเทรดนี้ เพราะ กราฟราคานั้นเป็น Supertrend ในขาลง ไม่มีการกลับตัวขึ้นใดๆ  

CCI วิธีใช้งานแบบทรงพลังทำอย่างไร ???

ขั้นแรกคุณต้องปรับ Period ให้เหมาะกับสินค้าก่อน ในที่นี้ ผมแนะนำค่าที่ผมใช้บ่อยๆ คือ 50 (เป็นค่าเดียวกันกับที่สอนในคอร์ส Supertrend : T5) 

ส่วน Level ให้ปรับเป็น -200 และ 200 (ค่า level สามารถปรับได้ ไม่ตายตัว ขึ้นกับสินค้าและ Timeframe ที่คุณนำไปใช้)

 

หลังจากปรับค่า period และ Level ตามที่แนะนำแล้ว ถัดไปก็จะเป็น Step การเข้า และ ออก ออเดอร์ อย่างเป็นระบบ ในแบบของผมนะครับ 

STEP#1  รอ CCI เข้าสู่ zone overbought หรือ oversold "2 รอบ" 


จากภาพด้านบน จะเห็นว่า ราคามีการลงมาเข้า Oversold ครั้งแรก หลังจากนั้น ก็ย่อตัวขึ้นเล็กน้อย หลังจากนั้นก็มีการ "ลงต่อ" อีก 1 ชุด ทำให้ราคาเข้าไปสู่การ Oversold รอบที่ 2 ซึ่งหลังจากจบ 2 รอบ ก็จะเป็นไปตามที่ผมแนะนำใน Step นี้ครับ ถือว่าผ่านเงื่อนไขแรก 

STEP#2  ตี Trendline หาแนวรับ-ต้าน  


หลังการเข้า oversold รอบที่ 2 แล้ว หน้าที่ของเราก็คือ มองหาแนวรับ - ต้าน ที่มีนัยยะสำคัญ 

หลักการคือ เหมือนเดิมที่เคยสอน มองหาแนวราคาที่มีการ "สัมผัส" แล้วเกิดการเด้ง หรือ เคยมีการ Break ของราคาผ่านมาได้ ในอดีต ก็จะเป็นแนวราคาที่ดี เหมาะกับการตี Trendline 

จากภาพด้านบน จะเห็นว่าผมเลือกตี Trendline ในแนวนอน ลากผ่านราคาในอดีต ที่ราคาเคยมาทดสอบแล้วมีการเด้งกลับ (ในวงกลมสีเหลืองอันแรก) และ แนวราคาเดิมในเวลาถัดมา มีการเบรค ราคาผ่านลงมา (ในวงกลมสีเหลืองอันที่ 2)

STEP#3  รอ Confirm การเข้าเทรด 


รอ confirm การเข้าเทรด เมื่อราคามีการเบรค Trendline ที่เราตีไว้ ทำการ Buy ขึ้นไป และ Stoploss ไว้ที่ Swing low ล่าสุด นำราคาเข้า และ ราคา Stoploss ไปคำนวณความเสี่ยงที่ 1-2 % 

STEP#4  คำนวณหาจุด EXIT โดยใช้ Risk : Reward ที่เหมาะสม

 


ตามภาพ เราจะหาจุดออก โดยใช้ RRR 1:3 ใน Timeframe H4 หรือ ใครต้องการออกที่ Zone overbought ด้านบน ก็สามารถทำได้ครับ แต่ควรเตรียมแผนสำรองไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ราคาไม่ไปถึง Zone overbought จะมีแผนการออกทำกำไรอย่างไร ??? 

 

ดูตัวอย่างการเทรด "ขาขึ้น" และ ทบทวนเงื่อนไขต่างๆ ได้จาก Clip ด้านบนครับ ^^ 


Visitors: 27,896