Trick การเทรด แนวรับ - แนวต้าน อย่างไร ??? ไม่ถูกหลอก

หลายๆ ท่านคงเคยใช้ เคยเทรด แนวรับ - แนวต้าน กันมาแล้ว

เรามักจะถูกสอนให้ ตี Trendline ผ่าน แนวรับ แนวต้าน ที่ราคามาสัมผัสบ่อยๆ ถูกไหม ???  จึงเป็น Key level หรือ แนวราคาที่มีนัยยะสำคัญ เพราะ เมื่อราคามาสัมผัสแนวรับหรือต้านนั้น ราคาก็จะ "เด้ง" ไปมา ตามกรอบแนวรับแนวต้านนั้น ตามภาพ ... 

 


แต่เชื่อไหมครับว่า ชีวิตจริงนั้น มันไม่ได้เจอ Pattern แบบนี้บ่อยๆ 
และที่สำคัญคือ ... ถ้าคุณใช้หลักการแบบนี้ รับรองระยะยาว พอร์ทคุณเจ๊งแน่นอน !!!

เพราะ อะไร ??? ผมจะเล่าให้ฟัง 



แนวคิดที่ว่า ... แนวรับ แนวต้าน ที่ดี จะต้องเป็นแนวที่ราคามา Test หรือสัมผัสบ่อยๆนั้น อาจจะไม่จริงเสียทีเดียว 
เพราะ ถ้าคุณเคยศึกษาเรื่อง "Demand Supply zone" จะพอเข้าใจเรื่องนี้ดี 

 "Demand Supply zone" คือ zone การซื้อขายที่ Banks หรือ สถาบัน ใช้เป็น Trigger ในการเข้าซื้อขาย

อธิบายได้ด้วย "Demand คือ ความต้องการซื้อ" และ "Supply คือ ความต้องการขาย" 

หากกราฟเป็น "ขาขึ้น" (Bullish) แปลได้ว่า มีความต้องการซื้อโดย Buyer มากกว่า ความต้องการที่จะขาย ว่าง่ายๆ คือ 


ผมอยากได้ของ คุณมีของเท่าไหร่ ราคาสูงเท่าไหร่ ณ ตอนนั้น ผมก็จะซื้อ ซื้อๆๆๆ ไปจนกว่าราคาจะถึงจุดสมดุล equilibrium 

หรือ จุดที่ผู้ซื้อ ไม่ต้องการซื้อแล้ว ราคาแพงเกินไปแล้ว ก็จะกลับเข้าสู่จุดสมดุล 

ตรงกันข้าม ...

หากกราฟเป็น "ขาลง" (Bearish) แปลได้ว่า มีความต้องการขายโดย Seller มากกว่า ความต้องการที่จะซื้อ ว่าง่ายๆ คือ 

ผมอยากขายของ ผมยอมขายในราคาที่ต่ำลงก็ได้ ผมก็จะขาย ขายๆๆๆๆ ไปจนกว่าราคาจะถึงจุดสมดุล equilibrium 

หรือ จุดที่ผู้ขาย ไม่ต้องการขายแล้ว ขายของหมดแล้ว ราคาก็จะกลับเข้าจุดสมดุล 

พูดมายาวเหยียด เพื่อจะบอกว่า ...​

การที่ ราคามาเทส ที่แนวรับบ่อยๆ แนวนั้นมีโอกาสเป็น Demand zone ซึ่งมีความต้องการซื้อสูง ผู้ขาย หรือ Seller ก็จะหา order มาให้ผู้ซื้อ fill จนหมด 

ดังนั้น การลงมาเทสครั้งที่ 1 ผู้ขาย หรือ Seller ก็จะหา order ให้ผู้ซื้อได้มากจำนวนหนึ่ง   การเทสครั้งที่ 2 ผู้ขาย หรือ Seller ก็จะหา order ให้ผู้ซื้อได้มากจำนวนหนึ่ง เพื่อ fill ออเดอร์ให้เต็ม

การเทสครั้งที่ 3 มีความน่ากลัวตรงที่ว่า มีการ Fill order ให้ผู้ซื้อ มาก่อนหน้า ถึง 2 รอบแล้ว มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ซื้ออาจจะ fill order จนหมดแล้ว ... ความเสี่ยงที่แนวรับนี้ จะทะลุลงมา เพราะ ผู้ขายกลับมีมากกว่าผู้ซื้อ ก็มีความเป็นไปได้สูง 

ตามภาพ ... 



ในทางกลับกัน คือ ... 

การที่ ราคามาเทส ที่แนวต้านบ่อยๆ แนวนั้นมีโอกาสเป็น Supply zone ซึ่งมีความต้องการขายสูง ผู้ซื้อ หรือ Buyer ก็จะหา order มาให้ผู้ขาย fill จนหมด

ดังนั้น การที่ราคาขึ้นไปเทสครั้งที่ 1 ผู้ซื้อ หรือ Buyer ก็จะหา order ให้ผู้ขายได้มากจำนวนหนึ่ง   การเทสครั้งที่ 2 ผู้ซื้อ หรือ Buyer ก็จะหา order ให้ผู้ขายได้มากจำนวนหนึ่ง เพื่อ fill ออเดอร์ให้เต็ม

การเทสครั้งที่ 3 มีความน่ากลัวตรงที่ว่า มีการ Fill order ให้ผู้ขาย มาก่อนหน้า ถึง 2 รอบแล้ว มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ขายอาจจะ fill order จนหมดแล้ว ... ความเสี่ยงที่แนวรับนี้ จะทะลุขึ้นไป เพราะ ผู้ซื้อกลับมีมากกว่าผู้ขาย ก็มีความเป็นไปได้สูง 

ตามภาพ ... 



จากภาพจะเห็นว่ามีการขึ้นไปเทสแนวต้านถึง 4 ครั้ง ... ซึ่งมีความเสี่ยงว่าผู้ขายอาจจะขายของหมดแล้ว 
มีโอกาสที่ราคาจะทะลุแนวต้านนี้ขึ้นไป 

"สรุป ... การใช้แนวรับ แนวต้านที่ดี สำหรับผม ไม่ควรเป็นแนวที่เทสเกิน 2-3 ครั้ง เป็นสัญญาณที่ความสดใหม่ (Freshness)


ถ้ามากกว่านี้ จะเรียกว่าสัญญาณช้ำ ไม่สดใหม่ มีโอกาส False หรือ ถูกหลอกได้ สำหรับคนที่เทรดในกรอบ 

ซึ่งจะอันตรายในกลยุทธ์ที่เทรดในแนวโน้ม Sideway หรือ วางเงินแบบ Martingale
คุณควรนำเรื่องนี้ไปพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบที่ใช้ให้มีความปลอดภัย"



สินค้า Bitcoin ก็สามารถนำเรื่องที่ผมแนะนำวันนี้มาใช้ได้ 


จะเห็นได้ว่าราคาเทสแนวต้าน ด้านบนถึง 3 ครั้ง ก่อนที่จะมาเทสครั้งที่ 4 แล้ว ราคาก็ทะลุขึ้นไปไกลโพ้นนนนนน ...​

ปล.​ ผมไม่ได้ลงลึกเรื่อง Demand supply zone มากนะครับ หากใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Search engine 

หวังว่าจะเป็นบทความที่เป็นประโยชน์ครับ 

ขอบคุณสำหรับการติดตามเสมอมา ...

 ➡ ไม่อยากพลาดบทความดีๆ กด “See First ” ไว้นะครับ

===========================

#เรียนรู้การเทรดเป็นระบบไม่ต้องเฝ้าจอ

#เทรดกราฟเปล่าแทบไม่ใช้อินดิเคเตอร์

#เทคนิคทำกำไรรายวันและรายสัปดาห์

#วางเงินแบบไม่ล้างพอร์ท

#Forex

===========================

ช่องทางการติดต่อ

1. ทัก inbox ... อาจตอบช้า ...ขออภัยล่วงหน้าครับ 

2. ไลน์ : @sharingtradeschool (อย่าลืมใส่ @ ครับ) หรือ line://ti/p/%40xsm0161u

3. Tel. 0865256359 (ยศ)

 

 

Visitors: 27,896